๓)ทฤษฏีบุคลิกภาพของฮันส์ เจอร์เกน ไอเซงค์

๓)ทฤษฏีบุคลิกภาพของฮันส์ เจอร์เกน ไอเซงค์ (Hans Jurgen Eyesnck) ไฮเซงค์ เป็นนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ แต่ถือกำเนิดที่ประเทศเยอรมัน เมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๑ ได้รับการศึกษาขั้นต้นในประเทศเยอรมัน ครั้น ค.ศ. ๑๙๓๔ เขาเดินทางไปประเทศอังกฤษ และเข้าศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ จนได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน (University of London) ภายหลังนั้นจึงได้ทำงานเป็นนักจิตวิทยาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งดอนลอน จนกระทั่งมีชื่อเสียงจากการศึกษาวิเคราะห์ ในเรื่องโครงสร้างของบุคลิกภาพ และได้แต่งหนังสือชื่อมิติต่างๆ ของบุคลิกภาพ (Dimensions of personality) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๗ และโครงสร้างของบุคลิกภาพของมนุษย์ (The Structure of Human Personality) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๓ เป็นต้น นอกจากนี้ ผลงานของไอเซงค์ นั้นปรากฏการณ์ มีส่วนคล้ายผลงานของ คาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung)ผู้ซึ่งเป็นผู้กอตั้งจิตวิทยาสกุลวิเคราะห์ และเป็นผู้เริ่มต้นความคิดในเรื่องอินโทรเวิท และ เอกซโทรเวิท อันเป็นแบบบุคลิกภาพ อีกทั้งผลงานของไอเซงค์ ยังมีส่วนคล้ายกับผลงานของเอมิล เครพลิน (Emil Kraepelin) ซึ่งเป็นผู้สนใจงานด้านจิตเวชวิทยา และจิตแพทย์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงเด่นมากในเรื่องของการแยกโรคจิตไว้เป็นชนิดต่างๆจนกลายเป็นรากฐานของการแยกประเภทโรคจิตในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผลงานของไอเซงค์ยังมีส่วนคล้ายกับผลงานของ เอิร์นสท์ เครชเมอร์ (Ernst Kretschmer)ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมัน และมีชื่อเสียงจากผลงานการศึกษาว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะโครงสร้างของร่างกายและบุคลิกภาพ ที่มา :http://www.youtube.com/watch?v=Qyh5wdXggOI ๓.๑.แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกของไอเซงค์ ไอเซงค์มีความเห็นสอดคล้องกับคำจำกัดความเกี่ยวกับบุคลิกภาพของออลพอร์ท (G.W.Allpoort) ได้ให้ความหมายของ “บุคลิกภาพ” ไว้ว่า คือ ลักษณะส่วนรวม (ที่เปลี่ยนแปลงได้) ของแต่ละบุคคลอันประกอบด้วยลักษณะทางร่ากายและจิตใจ (ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ) ซึ่งทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า บุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลที่ประสมประสานรวบรวมเป็นพฤติกรรมที่มีระบบและแสดงออกมาเป็นเอกลักษณ์ของแต่บุคคล นอกจากนี้ ตามความสนใจของไอเซงค์ เขามีความสนใจ จนกระทั่งมีชื่อเสียงจากการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในเรื่องโครงสร้างบุคลิกภาพ อีกทั้งเขาย้ำว่าการเรียนรู้เป็นรากฐานของพฤติกรรม ๓.๒. ลักษณะบุคลิกภาพตามลักษณะของไอเซงค์ ไอเซงค์จำแนกลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่เป็นโรคประสาท (Neurotic) เป็น ๒ กลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกภาพตามทัศนะของจุง (C.G. Jung) คือ ก. กลุ่มที่๑ คือ ลักษณะบุคลิกภาพแบบอินโทรเวิท(Introvert หรือ Introversion) ข. กลุ่มที่๒ คือ ลักษณะบุคลิกภาพแบบเอกซโทรเวิท (Extrovert หรือ Extraversion)

 ที่มา รองศาสตราจารย์ ดร. ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. สุขภาพจิตเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์,2530.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น